ค้นหาบทความ

หมวดหมู่

 โหราศาสตร์(9)
 ท่องเที่ยว(9)
 Lifestyle(9)
 รถยนต์(15)
 กีฬา(11)
 สุขภาพ(12)
 ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์(20)
 บทความทั่วไป(75)
 เทคนิคเกี่ยวกับรถ(44)
 ถาม-ตอบที่น่าสนใจ(162)
 ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค(97)
 อะไหล่(21)
 การดูแลรักษารถ(61)
 การใช้รถ(85)
 Camry Hybrid(13)
 อื่นๆ(35)

บทความล่าสุด

เข้าศูนย์ตอนเช้าดียังไง ?
กรณีรถเสีย จะติดต่อหน่วยงานไหนดี ?
ขับรถตกหลุมบ่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรบ้าง ?
ถ้าได้กลิ่นเหม็นไหม้ภายในรถ ควรทำอย่างไร ?
คินโตะ (บริการการเช่ารถจากโตโยต้าราคาเดียว) เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มใดบ้าง?
เหตุใด !! รถยนต์คัมรี่ใหม่ (2564) รุ่น Hybrid ที่ใช้เครื่องยนต์เดิมจึงมีตัวเลขประหยัดน้ำมันตาม Eco Sticker ลดลงจากเดิม ?
เหตุใดจึงต้องมีการยกเลิก รถยนต์ Camry รุ่น 2.0 ลิตร ?
จากรูปลักษณ์ภายนอก เราสามารถแยกรุ่น Hybrid กับเบนซิน ได้อย่างไร ?
คำว่า HEV ย่อมาจากคำว่าอะไร?
เหตุใดการลากรถจึงต้องทำการตรวจสอบระบบขับเคลื่อน ?
สตาร์ทรถไม่ปิดแอร์ส่งผลอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง!! หากการเร่งเครื่องหรือเบิ้ลเครื่อง ขณะที่เครื่องยนต์เย็นอยู่ ?
ขณะจอดรถติดไฟแดงควรเลื่อนคันเกียร์อยู่ตำแหน่งใด ?
หลีกเลี่ยงการคิกดาวน์ (Kickdown) เนื่องจากสาเหตุใด ?
สีฟุตบาทขาวเหลืองหมายถึงอะไร ?
เราจะเห็นสีฟุตบาทขาวแดงได้ที่ไหนบ้าง ?
สีฟุตบาทขาวแดงหมายถึงอะไร ?
ICS คืออะไร ?
รถป้ายแดง ขึ้นทางด่วนได้ไหม?
เงื่อนไข ด้านการทำงาน ของระบบ LDA มีขั้นตอนเป็นอย่างไร ?

 

ยืดเส้นยืดสาย... สำหรับผู้ขับขี่และผู้นั่งในรถยนต์

เมื่อ : 25 มกราคม 2550เวลา09:38:09 บทความทั้งหมด   แสดงความคิดเห็น(0)

...............ผู้ขับขี่และผู้นั่งในรถยนต์ที่อยู่ในอิริยาบถเดียวนานๆ ทำให้เกิดการปวดเมื่อยและล้าของกล้ามเนื้อและข้อต่อควรเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการตรวจสอบท่านั่งให้ถูกต้องและฝึกบริหารร่างกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อข้อต่อและเส้นเอ็น...เพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดไปสู่กล้ามเนื้ออย่างทั่วถึงและลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายผ่อนคลายปวด... เมื่อย ทำให้กระฉับกระเฉง... และมีประสิทธิภาพในการขับขี่มากขึ้น
ท่านั่งในรถยนต์ที่ถูกต้อง
...............ผู้ขับขี่ควรนั่งให้เต็มก้น หลังชิดพนักพิง หลังตรง ค้อมหัวลงเล็กน้อยเพื่อเก็บคาง และปรับระดับเบาะนั่งให้ใกล้ที่เท้าเหยียบ หรือคันเร่ง โดยให้เข่างอพอประมาณพร้อมคาดเข็ดขัดนิรภัย (Safety belt) 

ท่าฝึกการบริหาร
...............ควรฝึกขณะจอดรถหยุดพักระหว่างท่าทางหรือรถจอดสนิท.... ด้วยการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยาวไป จนสุดแล้วหยุดค้างไว้ในท่านิ่งประมาณ 10 - 30 วินาที ในแต่ละท่า

ท่าที่1 ท่าพักสายตา
วิธีทำ ......หลับตาลงเพื่อพักสายตา ประมาณ 10 - 30 นาที
ท่าที 2 ท่าบริหารตา
วิธีทำ......กรอกตามองไปทางขวา แล้ววนลงล่างไปทางซ้าย และกรอกขึ้นข้างบน แล้ววนกลับย้อนในทางเดิมอย่างช้าๆ 2-3 รอบ
ท่าที่3 ท่าบริหารกล้ามเนื้อ
วิธีทำ......ใช้ฝ่ามือดันหน้าผาก โดยออกแรงต้านระหว่างศีรษะและฝ่ามือ 10 นาที ..เปลี่ยนใช้มือขวาดันขมับด้านขวา.. ใช้มือซ้ายดันขมับด้านซ้ายมือ 10 วินาที จากนั้นประสานมือเข้าด้วยกันไว้บริเวณท้ายทอยออกแรงต้านระหว่างมือและศีรษะ 10 วินาที

ท่าที่4 ท่าบริหารกล้ามเนื้อคอ 
วิธีทำ......บิดคอไปทางซ้ายให้เต็มที่เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 5 ท่าบริหารคอและข่า
วิธีทำ .......เอียงหน้าไปข้างขวาให้กล้ามเนื้อคอตึงค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 6 ท่าบริหารกล้ามเนื้อนิ้วมือและแขนส่วนล่าง
วิธีทำ.......ดันปลายนิ้วมือทั้งหมดเข้าหากัน พร้อมเพิ่มแรงดันขึ้นจนเต็มที่คงสภาพนี้ไว้ 10 นาที แล้วพัก 2-3 วินาที จึงเริ่มทำใหม่
ท่าที่ 7 ท่าบริหารฝ่ามือและแขน
วิธีทำ.......ใช้มือขวาจับปลานิ้วมือซ้ายทั้ง 4 แล้วออกแรงดึงเข้าหาลำตัว ขณะที่แขนข้างซ้ายเหยียดตึงผลักออกไปข้างหน้า เกร็งไว้ 10 นาที แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 8 ท่าบริหารหัวไหล่และต้นแขน
วิธีทำ......ใช้มือซ้ายจับมือขวาบริเวณข้อศอก ดึงข้อศอกเข้ากาไหล่ซ้าย ใบหน้าหันมองข้ามไหล่ขวาค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 9 ท่าบริหารกล้ามเนื้อไหล่ท้องส่วนบน
วิธีทำ.......ออกแรงดันด้วยแขนทั้งสองกับเพดานรถยนต์ให้เต็มที่ เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วพัก 2-3 วินาที จึงเริ่มใหม่
ท่าที่ 10 ท่าบริหารข้อเท้า ด้านข้างของสะโพก และหลังส่วนล่าง
วิธีทำ.......ให้บิดข้อเท้าตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา ข้างละ 20 –30 รอบ
ท่าฝึกในท่ายืน
.......ใช้ฝึกเมื่อลงจากรถ แล้วจะยืนข้างๆ รถ หรือยืนในที่ปลอดภัยเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อส่วนหลังและขา ป้องกันและแก้ไขอาการปวดหลัง
ท่าที่ 1 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และบั้นท้าย
วิธีทำ.......ยืนตรงปลายเท้าห่างกันพอสมควร ค่อยๆ ก้มตัวลงใช้มือจับด้านหลังขอวข้อเท้าแต่ละข้างเอาไว้เข่างอเล็กน้อย หยุดนิ่งไว้ 10-15 วินาที
ท่าที่ 2 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลังและขาด้านใน
วิธีทำ.......ยืนแยกขาออกให้กว้างมือทั้งสองข้างไว้ด้านหลังก้มตัว ..ย่อเข่าเล็กน้อยและเอี้ยวตัวไปทาง ซ้าย –ขวา.. สลับกันโดย หยุดนิ่งในแต่ละข้าง 10 วินาที
ท่าที่3 ท่าบริหารเอว
วิธีทำ.......ยืนหันหลังให้กำแพง หรือรถ จากนั้นจึงบิดตัวไปด้านซ้ายให้มือไปแตะที่กำแพงหรือรถ นิ่งไว้ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนสลับบิดตัวไปด้านขวา
ท่าที่4 ท่าบริหารเอว และต้นขาด้านหลัง 
วิธีทำ.......ยืนยกขาข้างหนึ่ง วางพาดไว้บนเก้าอี้มือทั้งสองวางไว้ที่หัวเขาค่อยๆก้มตัวแล้วจนหน้าผากแตะกับหัวเข่า
ท่าที่ 5 ท่าบริหารเอว และหลัง 
วิธีทำ.......ยืนตรงปลายเท้าห่างกัน มือทั้งสองไขว่ไว้ด้านหลัง บริเวณสะโพกเอนตัวไปด้านหลัว รักษาเข่าให้เหยียดตรงไว้เสมอ
..............การฝึกกายบริหารเป็นเพียงการแก้ไขอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อเท่านั้น การทีร่างกายแข็งแรง ..ควรต้องมีการเคลื่อนไหวออกแรง./ ออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน สัปดาห์ละ 3 - 5 วันๆ ละ 20 นาที ..อย่างต่อเนื่อง โดยมี ความเหนื่อยระดับปานกลางขึ้นไปถึงระดับหนัก หรือจะทำงานบ้าน งานอาชีพ โดยสะสมควรเหนื่อยระดับปานกลาง ครั้งละ 10 นาที รวมให้ได้อย่างต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน โดยทำ 5 - 7 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดปัจจจัยเสี่ยงการ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงเบาหวาน และโรคอ้วน

ขึ้นด้านบน   ส่งบทความนี้ให้เพื่อน   สั่งพิมพ์หน้านี้   แสดงความคิดเห็น(0)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 ปัญหาโครมไฟซีนอน (Zenon lamp) ?
 พรบ.รถยนต์ : หมวด 2 ภาษีประจำปี
 จักระ
 สตาร์ทและอุ่นเครื่องยนต์ ตอนเช้า
 พรบ.รถยนต์ : หมวด 1 การจดทะเบียน
แสดงความคิดเห็นในเรื่อง "ยืดเส้นยืดสาย... สำหรับผู้ขับขี่และผู้นั่งในรถยนต์"