ความคุ้มครองสูงสุด | วงเงินคุ้มครองเดิม | วงเงินคุ้มครองใหม่ |
กรณีเสียชีวิต | 300,000 | 500,000 |
กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือ สูญเสียอวัยวะ | 200,000 - 300,000 | 200,000 - 500,000 |
กรณีผู้ประสบภัยต้องใช้กะโหลก ศีรษะเทียมได้รับความคุ้มครอง สูงสุด | - | 250,000 |
ความคุ้มครองสูงสุด | ||
ความคุ้มครองเดิม | ความคุ้มครองใหม่ | |
ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง | ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง | |
จ่ายตามฐานานุรูปของผู้ประสบภัย ขั้นต่ำ 100,000 บาท หรือ 300,000 บาท ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ | จ่ายขั้นต่ำ 500,000 - 2,000,000 บาท ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ | |
ส่วนเกิน 2,000,000 บาท พิสูจน์ความเสียหายที่ ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย | ||
ปรับเบี้ยประกันเพิ่มสำหรับรถบางประเภท เพื่อให้เป็นไปตามความเสี่ยงภัย |
เคลมสด คือ | หลักฐานประกอบการเคลม |
- เคลมที่ต้องเรียกพนักงานตรวจสอบความเสียหายทุกครั้ง | - ใบเคลมประกัน หรือใบรับรองความเสียหาย |
- กรณีเกิดเหตุรถชน มีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บ หรือรถชนเสียหายหนัก |
- ใบขับขี่พร้อมสําเนาบัตรประชาชน - หน้าตารางกรมธรรม์ประกัน |
- พนักงานตรวจสอบความเสียหายออกใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหาย เพื่อนําไปติดต่อจัดซ่อม | - สําเนาทะเบียนรถ |
เคลมแห้ง คือ | หลักฐานประกอบการเคลม |
- เคลมที่ไม่ต้องเรียกพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุออกตรวจ (ยกเว้นบริษัทประกันบางแห่ง) | - ใบเคลมประกัน หรือใบรับรองความเสียหาย |
- กรณีรถประกันเสียหายเล็กน้อยไม่มีคู่กรณี |
- ใบขับขี่พร้อมสําเนาบัตรประชาชน - หน้าตารางกรมธรรม์ประกัน |
- สามารถใช้กับประกันภัย ประเภท 1 เท่านั้น เข้าไปติดต่อจัดซ่อม ที่ศูนย์บริการตัวถังและสี หรืออู่ในเครือของบริษัทประกันภัยได้เลย | - สําเนาทะเบียนรถ |
ส่วนลดค่าเบี้ย ตามช่วงอายุผู้ขับขี่ | |
ผู้ขับขี่อายุ 18 - 24 ปี | ส่วนลดเบี้ย 5 % |
ผู้ขับขี่อายุ 25 - 35ปี | ส่วนลดเบี้ย 10 % |
ผู้ขับขี่อายุ 36 – 50 ปี | ส่วนลดเบี้ย 15 % |
ผู้ขับขี่อายุ 50 ปีขึ้นไป | ส่วนลดเบี้ย 20 % |
หลักเกณฑ์ : โดยให้ใช้อัตราส่วนลด ผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยเป็นหลัก
บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน 24 ชม. (น้ํามันหมด / เครื่องยนต์ขัดข้อง / แบตเตอรี่หมด / ยางรั่ว) สามารถแจ้งเหตุได้ที่ โทร 02-305-4444
คือ เงินชดเชยที่บริษัทประกันฝ่ายผิด ต้องชดใช้ให้กับคู่กรณีฝ่ายถูก ที่เสียประโยชน์จากการใช้รถยนต์ในระหว่างการจัดซ่อม ซึ่งกรณีฝ่ายถูก จะต้องเป็นผู้ดําเนินการเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ กับบริษัทประกันฝ่ายผิดด้วยตนเอง
1. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน(เจ้าของรถ)
2. สําเนาใบเคลม
3. สําเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
4. ใบนํารถยนต์เข้าจัดซ่อม หรือ ใบรับรถยนต์
5. หลักฐานเอกสารประกอบการใช้รถในแต่ละวัน (ถ้ามี)
6. ใบเสร็จค่าเช่ารถยนต์ (ถ้ามี)
7. สําเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
หมายเหตุ : กรณีเจ้าของรถดําเนินการด้วยตัวเอง
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากอุบัติเหตุ อันมีสาเหตุมาจากรถยนต์ คันที่มี พ.ร.บ. เช่น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก คนเดินเท้า เป็นต้น
ความคุ้มครอง | ประเภทกรมธรรม์ | |||
ป.1 | ป.2+ | ป.3+ | ป.3 | |
คู่กรณี | ||||
ทรัพย์สิน | ||||
บุคคล | ||||
รถเรา | ||||
เสียหาย | * | * | ||
สูญหาย/ไฟไหม้ | ||||
บุคคลภายในรถเรา | ||||
อุบัติเหตุบุคคล | ||||
ค่ารักษาพยาบาล | ||||
ประกันตัวผู้ขับขี่ |
พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ออกโดย “บริษัทประกันภัย”
ป้ายภาษี คือ ป้ายที่แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าว ได้มีการชําระภาษีรถยนต์
ประจําปีแล้ว ซึ่งป้ายแสดงการเสียภาษีนั้น ก็คือ ป้ายสี่เหลี่ยมที่มี ปี พ.ศ.สิ้นอายุ ออกโดย “กรมการขนส่งทางบก”
กรณีรถยนต์เกิดความเสียหายต้องคืนทุนประกัน หากผู้รับ ผลประโยชน์ยังเป็นไฟแนนซ์ ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหม ให้ไฟแนนซ์ ทางไฟแนนซ์ก็จะหักภาระหนี้สินที่ค้างอยู่ ส่วนที่เหลือ ก็จะคืนให้กับผู้เอาประกัน หากจํานวนเงินไม่พอ ทางไฟแนนซ์ก็จะ เรียกร้องเพิ่มเติมจากผู้ผ่อนต่อไป
คือ เงินที่ทางบริษัทประกันภัยรับผิดชอบต่อความเสียหายในอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก หรือชีวิตร่างกายบุคคลภายนอก และความเสียหายต่อตัวรถที่เอาประกัน จะจัดเป็นค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ประกันจะจ่าย ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ตามราคาที่ประเมินในตลาด ณ ปัจจุบัน ( ทรัพย์สินบางประเภทจะมีความเสื่อมราคาอยู่ด้วย )
หลักการชดใช้ค่าเสียหายตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่เอาประกันภัยไว้
โดยผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย
โดยที่ความเสียหาย ดังกล่าวต้องเป็นผลมาจากภัยที่ได้เอาประกันไว้
การหักค่าเสื่อมสภาพขณะคํานวณเงินชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนเป็นการปฏิบัติตาม หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์
โดยรถทุกชนิดจะต้องทํา พ.ร.บ. เพื่อให้ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน
ในการรักษาพยาบาล จากการได้รับผลจากอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิตจากรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ การประกันภัยที่เกิดขึ้น
โดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ไม่ได้ถูกบังคับ
โดยกฎหมาย เพื่อให้ความคุ้มครองทั้งตัวบุคคลภายใน
และภายนอกรถ รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และตัวรถของผู้เอาประกันภัย
- กรณีเกิดเหตุรถชนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ สามารถเบิกเคลม ค่ารักษาพยาบาลได้โดยยื่นเอกสารเพียงบริษัทเดียว ทําให้ประสานงานได้รวดเร็วขึ้น
- หากเกินจากวงเงิน พ.ร.บ. แล้ว ในส่วนของความคุ้มครอง ของประกันภัย สามารถคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้ต่อเนื่อง
ไม่คุ้มครอง บริษัทประกันภัยจะคุ้มครอง กรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุทําให้ยางรถยนต์
ได้รับความเสียหาย เช่น ยางแตก ฉีดขาด
** หมายเหตุ : ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยเป็นผู้พิจารณา **
สําหรับรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ (ส่วนบุคคล) ที่ทําประกันภัยประเภn 1 ไว้ กรณีเกิด อุบัติเหตุเล็กน้อย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และทั้ง 2 ฝ่ายสามารถตกลง กันได้ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด หรือประมาทร่วมสามารถนําเอกสาร "Knock for Knock From" มากรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนแล้วนําเอกสารนั้นมา แลกกัน พร้อมกับถ่ายรูปรถที่เกิดอุบัติเหตุไว้ เป็นหลักฐาน
ไม่สามารถเคลมประกันภัยได้ เนื่องจากต้องเป็นกรณีรถยนต์ชนกับรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์กลไก และต้องมีคู่กรณีอยู่ในที่เกิดเหตุเท่านั้น
บริษัทประกันภัยจะให้ ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถเท่านั้น
ทรัพย์สินต่างๆ บริษัทประกันภัยจะไม่ให้ความคุ้มครอง
ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากอีกฝ่ายได้ ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบ ความเสียหายของตนเอง
ผู้ขับขี่ที่มีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ประกันจะไม่จํายค่าสินไหมทดแทนรถคันที่เอาประกันภัย
**บริษัทประกันภัยจะคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณีเท่านั้น**
คุ้มครอง เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุจากรถยนต์ชนกัน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ จึงทําให้ไฟไหมทั้งคัน บริษัทประกันภัยจะ จ่ายตามจริง แต่ไม่เกินทุนประกัน
หมายเหตุ : ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยเป็นผู้พิจารณา
ควรแจ้งให้ทางบริษัทประกันภัยทราบ เพื่อแก้ไขข้อมูลทะเบียนรถให้ถูกต้อง ทางบริษัท ประกันภัยจะออกเอกสารสลักหลังแก้ไขทะเบียนรถให้
คุ้มครอง เนื่องจากประกันภัยประเภท 1 ให้ความคุ้มครองกรณีน้ําท่วม ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
หากเจ้าของกรรมสิทธิคนเดิม ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากรมธรรม์ ประกันภัยจะยัง
คุ้มครองต่อเนื่อง ตลอดอายุกรมธรรม์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์คนใหม่
สามารถแจ้งเปลี่ยน ชื่อผู้เอาประกันภัยได้ โดยใช้เอกสารดังนี้
1.สําเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกันภัยคนเดิม เขียนระบุโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ ผู้เอาประกันภัยคนใหม่
2.สําเนาทะเบียนรถยนต์ (ที่มีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ใหม่เรียบร้อยแล้ว) เพื่อแจ้งให้ทางบริษัทประกันภัย ออกเอกสารสลักหลังกรมธรรม์ใหม่
ประกันจะคุ้มครองให้เฉพาะความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์เท่านั้น และจะไม่คุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย
ควรแจ้งให้ทางบริษัทประกันภัยทราบ เพื่อแก้ไข ข้อมูลสีรถ ให้ถูกต้อง ตรงตามคู่มือการจดทะเบียนรถ
เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนสีรถ
1. สําเนาทะเบียนรถยนต์ที่แก้ไขเปลี่ยนสีรถเรียบร้อยแล้ว
2. รูปถ่ายรถยนต์ 4 ด้านเต็มต้น
3. สําเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกันภัย
ขั้นตอนมีดังนี้
1. รีบนําผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง
2. โรงพยาบาลสามารถรับมอบอํานาจจากผู้ประสบภัย เพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัย
3. การขอรับค่าเสียหาย ผู้ประสบภัยจะแจ้งขอรับจากบริษัทประกันภัยเองหรือจะมอบอํานาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนได้
4. ค่าเสียหายเบื้องต้น รับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ร้องขอ (เอกสารถูกต้องและครบถ้วน)
5. ค่าเสียหายส่วนเกินเบื้องต้น รับได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ร้องขอ (เอกสารถูกต้องและครบถ้วน)
6. ผู้ประสบภัยจากรถที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหาย เบื้องต้นเท่านั้น!
1.หากคุณยอมรับเป็นฝ่ายผิด สามารถนํารถเข้าข้างทาง เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
2.ไม่ควรเซ็นเอกสารใดๆ ให้คู่กรณี รอจนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยจะไปถึง และให้คําแนะนํา
3.เมื่อเจ้าหน้าที่สํารวจภัยเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุฯ และปฏิบัติงานเสร็จสิ้น จะออกใบเคลมให้
4.ผู้เอาประกันสามารถนําใบเคลมติดต่อซ่อมรถได้ที่ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี TOYOTA ทั่วประเทศ
1.เสียประวัติ ซึ่งการแจ้งเคลมประกันภัยบริษัทประกันภัยจะนับว่า เป็นการ เสียประวัติดี อาจจะทําให้ไม่ได้รับส่วนลด ค่าเบี้ยในปีถัดไป
2.ใบเคลมจะหมดอายุ จะทําให้ไม่สามารถนํารถเข้าจัดซ่อมตามความเสียหาย ที่ระบุไว้ในใบเคลมได้
3.เสียผลประโยชน์ นอกจากจะจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแพงขึ้นในปีถัดไป รถยนต์ของคุณก็ยังมีรอยบาดแผลเหมือนเดิม
หากข้อมูลในกรมธรรม์ ผิด ต้องรีบติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยฯ เพื่อให้ออกเอกสารสลักหลัง
เอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้
1. สําเนาทะเบียนรถที่ถูกต้อง
2. ใบคําขอออกเอกสารแนบท้าย
1. อย่านํารถเคลื่อนย้าย ออกจากจุดเกิดอุบัติเหตุ (นอกจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเป็นผู้สั่ง)
2. ถ่ายรูปรถที่เกิดอุบัติเหตุ และจดทะเบียนรถ ของคู่กรณี หากมีกล้องหน้ารถเก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน
3. รอเจ้าหน้าที่สํารวจภัยเดินทางไปถึงที่เกิดอุบัติเหตุ และปฏิบัติงานเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่สํารวจภัยจะออกใบรับรองความเสียหายให้ ใบเคลม)
s
หมายเหตุ : กรณีตกลงกันไม่ได้ ต้องไปที่สถานีตํารวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตํารวจเป็นผู้ตัดสิน
สามารถยื่นเรื่องขอกรมธรรม์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. แจ้งความเอกสารหายต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ โดยต้องระบุรายละเอียดข้อมูลประกันภัย
อย่างชัดเจน เช่น ชื่อ-นามสกุลผู้เอาประกันภัย ยี่ห้อรถ รุ่นรถ เลขทะเบียนรถ
หมายเลขตัวถัง ชื่อบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ เลขที่ใบเสร็จ
2. นําใบแจ้งความ ยื่นติดต่อขอรับเอกสารกรมธรรม์ ที่บริษัทประกันภัย
หมายเหตุ : ทางบริษัทประกันภัย ออกเอกสารกรมธรรม์ฉบับจริง ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น กรณีเอกสารกรมธรรม์ฉบับจริงหาย ทางบริษัทประกันภัยจะออกเอกสารเป็นสําเนากรมธรรม์เท่านั้น
เคลมได้ เนื่องจากกรมธรรม์ประเภท 1 คุ้มครองครอบคลุมถึงภัยที่ เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ
กรณีเป็นฝ่ายถูก ประกันของคู่กรณี จะรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดให้ตามปกติ
กรณีเป็นฝ่ายผิด ประกันจะไม่คุ้มครองความเสียหายให้กับรถคันที่ทําประกันภัย แต่จะคุ้มครองให้เฉพาะคู่กรณีตามปกติ
หมายเหตุ : ถ้าไม่มีใบอนุญาตขับขี่เกิดอุบัติเหตุ เป็นประกันภัยประเภท 1 จะกลายเป็นประกันภัยประเภท 3 ทันที
สามารถเคลมประกันภัยได้ เนื่องจากประกันภัยประเภท 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุม ความเสียหายของรถยนต์
หมายเหตุ : ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอย่างชัดเจน เช่น ทะเบียนรถของคู่กรณี
วัน/เดือนปี เวลา สถานที่เกิดเหตุ หากมีกล้องหน้ารถ สามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ บริษัทประกันภัยเพื่อเป็นหลักฐานได้
เคลมได้ ทําประกันภัยประเภท1 ให้ความคุ้มครอง กรณีเติมน้ํามันผิดเนื่องจากเป็นอุบัติเหตุอย่างหนึ่ง
หมายเหตุ : การแจ้งเคลมประกันภัยจะต้องมีหลักฐาน
การเติมนามันผิดประเภทจริงจากทางปั้มน้ํามัน เช่น ใบเสร็จรับเงิน
รถยนต์ที่ติดตั้งกล้อง CCTV สามารถขอรับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยภาคสมัครใจ ร้อยละ 5-10% ของเบี้ยประกันภัยสูทธิโดยผู้เอาประกันภัยต้องแสดงหลักฐาน ภาพถ่ายการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ที่ติดตั้งกับรถยนต์คันที่ เอาประกันภัยในระยะเวลาที่ทําสัญญาประกันภัย และต้องติดตั้งกล้องไว้ตลอด ระยะเวลาสัญญาประกันภัย
ควรรีบนํารถเข้าจัดซ่อม ที่ศูนย์บริการ หรือ อู่ในเครือภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ได้รับใบเคลม
1. หากคู่กรณียอมรับผิด สามารถนํารถเข้าข้างทาง เพื่อไม่ให้กีดขวางทางจราจร
2. หากคู่กรณีไม่ยอมรับผิด อย่านํารถเคลื่อนย้าย ออกจากจุดเกิดอุบัติเหตุ นอกจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเป็นผู้สั่ง
3. ถ่ายรูปรถที่เกิดอุบัติเหตุ และจดทะเบียนคู่กรณี หากมีกล้องหน้ารถเก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน
4. ห้ามรับข้อเสนอชดใช้ใดๆ จากคู่กรณี รอจนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยจะไปถึง และให้คําแนะนํา
5. รอเจ้าหน้าที่สํารวจภัยเดินทางไปถึงที่เกิดอุบัติเหตุ และปฏิบัติงานเสร็จสิ้น จะออกใบเคลมให้