ค้นหาบทความ

หมวดหมู่

 โหราศาสตร์(9)
 ท่องเที่ยว(9)
 Lifestyle(9)
 รถยนต์(15)
 กีฬา(11)
 สุขภาพ(12)
 ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์(20)
 บทความทั่วไป(75)
 เทคนิคเกี่ยวกับรถ(44)
 ถาม-ตอบที่น่าสนใจ(162)
 ข้อมูล-ความรู้ทางเทคนิค(97)
 อะไหล่(21)
 การดูแลรักษารถ(61)
 การใช้รถ(85)
 Camry Hybrid(13)
 อื่นๆ(35)

บทความล่าสุด

เข้าศูนย์ตอนเช้าดียังไง ?
กรณีรถเสีย จะติดต่อหน่วยงานไหนดี ?
ขับรถตกหลุมบ่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรบ้าง ?
ถ้าได้กลิ่นเหม็นไหม้ภายในรถ ควรทำอย่างไร ?
คินโตะ (บริการการเช่ารถจากโตโยต้าราคาเดียว) เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มใดบ้าง?
เหตุใด !! รถยนต์คัมรี่ใหม่ (2564) รุ่น Hybrid ที่ใช้เครื่องยนต์เดิมจึงมีตัวเลขประหยัดน้ำมันตาม Eco Sticker ลดลงจากเดิม ?
เหตุใดจึงต้องมีการยกเลิก รถยนต์ Camry รุ่น 2.0 ลิตร ?
จากรูปลักษณ์ภายนอก เราสามารถแยกรุ่น Hybrid กับเบนซิน ได้อย่างไร ?
คำว่า HEV ย่อมาจากคำว่าอะไร?
เหตุใดการลากรถจึงต้องทำการตรวจสอบระบบขับเคลื่อน ?
สตาร์ทรถไม่ปิดแอร์ส่งผลอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง!! หากการเร่งเครื่องหรือเบิ้ลเครื่อง ขณะที่เครื่องยนต์เย็นอยู่ ?
ขณะจอดรถติดไฟแดงควรเลื่อนคันเกียร์อยู่ตำแหน่งใด ?
หลีกเลี่ยงการคิกดาวน์ (Kickdown) เนื่องจากสาเหตุใด ?
สีฟุตบาทขาวเหลืองหมายถึงอะไร ?
เราจะเห็นสีฟุตบาทขาวแดงได้ที่ไหนบ้าง ?
สีฟุตบาทขาวแดงหมายถึงอะไร ?
ICS คืออะไร ?
รถป้ายแดง ขึ้นทางด่วนได้ไหม?
เงื่อนไข ด้านการทำงาน ของระบบ LDA มีขั้นตอนเป็นอย่างไร ?

 

ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ตัดสินอย่างไร

เมื่อ : 25 มกราคม 2550เวลา09:57:37 บทความทั้งหมด   แสดงความคิดเห็น(0)

การวินิจฉัยว่า สิ่งใดเป็นกรรมดี สิ่งใดเป็นกรรมชั่วสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
 
  1.การกระทำที่มีเหตุผลมาจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ การกระทำนั้นเป็นกรรมดี ถูก เป็นบุญ ควรทำถ้ามีเหตุมาจาก อกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ การกระทำ นั้นเป็นกรรมชั่ว ผิด เป็นบาป ไม่ควรทำ 
  2.การกระทำที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใคร ๆ มีสุขเป็นผลไม่ทำให้ร้อนใจภายหลังการกระทำนั้น เป็นกรรมดี ถูกเป็นบุญ ควรทำ ถ้าเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนหรือผู้อื่นมีทุกข์เป็นผล หรือทำให้ร้อนใจภายหลัง การกระทำนั้น เป็นกรรมชั่ว ผิดเป็นบาป ไม่ควรทำ
  3.การกระทำที่ทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรม เสื่อมไป การกระทำนั้นเป็นกรรมดี ถูก เป็นบุญ ควรทำถ้าทำให้กุศล ธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้นการกระทำนั้นเป็นกรรมชั่ว ผิด เป็นบาปไม่ควรทำการกระทำความดีที่สมบูรณ์แบบนั้น ต้องทำให้ ครบวงจร คือ ดีทั้งเหตุ ดีทั้งผล กับทุกคนที่มีส่วน เกี่ยวข้องต่างได้รับผลดี เช่น ในการปล่อยสัตว์ ผู้ปล่อยก็ได้บุญ คือ รู้สึกดีใจชื่นใจที่ตนได้ทำความดี สัตว์ที่ถูกปล่อยก็ดีใจที่มีชีวิตรอดพ้นจากความตาย หรือพ้นจากการจองจำ การกระทำบางอย่าง เช่น หลับในเวลาเรียน แม้จะไม่ใช่กรรมชั่ว แต่ก็เป็นสิ่งที่ ไม่สมควร ดังนั้นนอกจากพิจารณาเหตุและผล ดังกล่าวแล้ว ก่อนจะทำอะไรลงไป ควรพิจารณา ถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 
  1.กฎหมาย การทำผิดกฎหมาย ย่อมไม่สมควร เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด
  2.ศีล การกระทำบางอย่าง เช่น การฆ่าสัตว์โดยมีอาชญาบัตรถูกต้อง แม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดศีล จึงไม่ควรทำ สำหรับ คฤหัสถ์ควรรักษาศีลห้าเป็นอย่างน้อย
  3.ฐานะ การกระทำใด ถ้าไม่เหมาะกับเพศ วัย ความรู้กำลัง ยศ ตระกูล หรือ ฐานะในสังคมของตน การกระทำนั้น ไม่สมควร เช่น  เป็นชายแต่แต่งกายเหมือนหญิงมีรายได้น้อยแต่ชอบใช้ของแพง ๆ
  4.คำตำหนิ พระพุทธเจ้าตรัสว่าติตัวเองด้วยสิ่งใดไม่ควรทำสิ่งนั้น ดังนั้นการกระทำใด ถ้าตนเองตำหนิหรือผู้รู้ (รู้จักผิดชอบชั่วดี) ตำหนิ การกระทำนั้นไม่สมควร คำตำหนิของผู้รู้เปรียบเสมือนลายแทงขุมทรัพย์ ผู้นำมา พิจารณาโดยแยบคายจะได้รับประโยชน์ คือ รู้ข้อบกพร่อง ในตัว แล้วแก้ไขเสีย 
  5.กาลเวลา การกระทำที่ไม่เหมาะสมกับกาลเวลาแบ่งได้สี่ลักษณะ คือ
  5.1 ควรจะรีบแต่กลับเฉื่อยชา เช่น การปฐมพยาบาล ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือป่วยหนัก ต้องทำอย่างรีบด่วนถ้าช้าอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 
  5.2 ควรจะช้าแต่กลับเร็ว เช่น การรีบกลืนอาหารโดย ไม่เคี้ยวให้ละเอียดทำให้อาหารย่อยยาก
  5.3 ผิดเวลา ถ้าพูดไม่ถูกกาลเวลา เช่น การพูดกับคนที่กำลังโกรธมักจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีการทำผิดเวลา เช่น ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว ย่อมได้ของแพงเพราะไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า
  5.4 ผิดลำดับคือ ควรทำก่อนกลับทำทีหลัง ควรทำทีหลัง กลับทำก่อน อรรถกถาอาวาริยชาดกกล่าวถึงคนแจว เรือจ้างข้ามฟาก เขาส่งผู้โดยสารข้ามแม่น้ำคงคาก่อน แล้วค่อยทวงค่าจ้างภายหลังการทำผิดลำดับทำให้เขา ต้องทะเลาะกับผู้โดยสารที่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง เขาต้อง ใช้วิธีด่าและทุบตีผู้โดสาร จึงจะได้ค่าจ้าง ถ้าเขาใช้นโยบาย จ่ายก่อน จรทีหลัง ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง เขาจะเรียกร้องค่าจ้างได้มากตามต้องการ เพราะ ผู้โดยสารที่อยากจะข้ามฟาก แม้เกินราคาค่าจ้างก็ให้ได้
  6.สถานที่ การกระทำที่ไม่เหมาะกับสถานที่ มีสองลักษณะ คือ
  6.1 ขัดกับประเพณีอันดีงาม เช่น การแต่งกายด้วยสี ฉูดฉาดไปในงานศพ คนไทยเราไม่นิยมทำกัน ท่านจึงสอนว่า เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
  6.2 ขัดกับสภาพแวดล้อม เช่น การสวมเสื้อผ้าสีดำ หรือสีที่ไม่เหมาะสม เพราะสีดำจะดูดความร้อน ได้ดีทำให้ร่างกายร้อนมากเมื่อกลางปี พ.ศ. 2538 ในสหรัฐอเมริกาอากาศร้อนจัดมาก มีผู้เสียชีวิต เกือบพันคนเพราะปรับตัวให้เข้ากับอากาศ ที่ร้อนจัดไม่ได้ อนึ่ง การอยู่ในถิ่นที่มีมลพิษ มากห่างไกลจากที่ทำงาน ไกลจากวัด มีแหล่ง อบายมุขมาก เป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะเป็นอันตราย แก่สุขภาพและไม่สะดวกในการประกอบอาชีพและการปฎิบัติธรรม
  7.ความพอดี การกระทำที่ไม่พอดี คือ ทำยังไม่ถึงดีหรือทำเลยดี ทำให้ผลที่ออกมาไม่ดี เช่น การหุงข้าว นานจนเลยความพอดี 
ย่อมได้ข้าวไหม้ ถ้าหุงยังไม่ถึงจุดที่พอดี ก็เลิกหุงเสียก่อน ข้าวก็สุก ๆ ดิบ ๆ อรรถกถากล่าวว่า ทานที่มีผลมาก ประกอบด้วยองค์สามคือ
  1.ผู้รับศีลมีคุณธรรม
  2.ของที่ให้ได้มาอย่างสุจริต มีประโยชน์และ สมควรแก่ผู้รับ
  3.มีเจตนาบริสุทธิ์ มีจิตใจที่ยินดีแจ่มใส เบิกบานทั้งก่อนให้ ขณะให้ และเมื่อให้แล้ว อรรถกถา กล่าวว่า ผลแห่งบาปจะมากหรือน้อยขึ้นกับองค์สามคือ
  1.ถ้าคน สัตว์ หรือสิ่งของที่ล่วงละเมิด มีความดี ประโยชน์ หรือมูลค่าน้อยบาปก็น้อย
  2.ถ้าความพยายามมากก็บาปมาก ถ้าความพยายามน้อยก็บาปน้อย
  3.ถ้าเหตุจูงใจคือ ราคะ โทสะ โมหะ มากก็บาปมาก ถ้าราคะ โทสะ โมหะ น้อยก็บาปน้อย

ขึ้นด้านบน   ส่งบทความนี้ให้เพื่อน   สั่งพิมพ์หน้านี้   แสดงความคิดเห็น(0)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 อากาศสะอาดในออฟฟิศ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
 ภัยจากโคเลสเตอรอล( Cholesterol )
 การบริหารลูกน้อง
 การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี
 ข้อแนะนำสู่ความสำเร็จ
แสดงความคิดเห็นในเรื่อง "ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ตัดสินอย่างไร"